Email แปลกปลอม คืออะไร ทำไมต้องระวัง!

Email แปลกปลอมคืออะไร

Email แปลกปลอมหรือ Email หลวงลวง มีหลายชนิดมากซึ่งจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ยกตัวอย่างได้แก่ Junk เป็นจดหมายขยะส่วนใหญ่จะส่งมาจาก free email เช่น XXX@gmail.com หรือ XXXX@hotmail.com ซึ่ง Email ลักษณะนี้เป็น free email ใครก็สามารถสมัครและบอม Email ส่งมาได้ spam เป็น Email ที่หลอกให้คลิกลิงค์ที่มี Spam อยู่จากนั้นเครื่องผู้ใช้งานจะโดน Spam และมีการบอม Email ออกไปแบบไม่ได้เป็นผู้ส่ง ซึ่งถือว่าไวรัสนี้อันตรายและกำกัดได้ยากต่อผู้ให้บริการระบบ Email Server

ทำไมต้องระวัง Email ลักษณะนี้

เนื่องจาก Email ปลอกปลอมดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้งานระบบ Email Server และผู้ให้บริการระบบ Email Server ยกตัวอย่างเช่น Email แปลกปลอมเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการธนาคารส่งลิงค์ให้ผู้ใช้งานกรอกเลขที่บัญชีและรหัสผ่านไป Hackser จะนำข้อมูลนั้นไป login และสามารถโอนเงินหรือดูดเงินออกจากบัญชีได้อย่างง่ายดาย ซึ่งผู้ใช้งานต้องระวัง Email ลักษณะนี้เป็นอย่างมากและการใช้งานที่เสี่ยงมากที่สุดคือ Webmail เนื่องจากหากรู้รหัสผ่าน Email ก็สามารถ login เข้า Email เพื่อล้วงข้อมูลหรือเอกสารสำคัญทางบริษัทและการเงินของผู้ใช้งานไปด้วยและที่สำคัญหากพบ Email ที่หลอกให้กรอกข้อมูลต้องห้ามกรอกข้อมูลที่สำคัญเด็ดขาดอย่างเช่น รหัสผ่าน เลขบัญชี หรือเลขบัตรประชาชนเป็นต้น

ตัวอย่าง Email แปลกปลอมที่ต้องระวัง

Email นี้เป็น Email ที่ส่งมาจาก Server อื่นหลอกให้ User กรอก Password Email ในลิงค์ Keep Same Password

Email นี้เป็นการปลอมแปลงว่าผู้ส่งเป็นหน่วยงานราชการแต่ชื่อ Email ผู้ส่งนั้นเป็นการส่งมาจากโดเมนอื่น

หลอกให้ผู้ใช้งานโอนชำระค่าบริการดังไฟล์แนบ หรือหลอกให้ผู้ใช้งานเปิดไฟล์แนบแต่จะเสี่ยงต่อการติดไวรัส

Email ลักษณะนี้จะพบเจอบ่อยเป็น Email โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ซึ่งจะสร้างความรำคาญต่อผู้ใช้งานระบบ Email Server อย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

Email ที่ปลอมแปลงโดยใช้ Server อื่นส่งเข้ามา

5 ลักษณะ Email ปลอมแปลงที่คนหลงเชื่อมากที่สุด

ทำไมถึงไม่ควรใช้ Email ที่แถมกับ Website (Web Hosting)

DMARC และ SPF แตกต่างกันอย่างไร ?

วิธีตรวจสอบว่าตั้งค่า DMARC ในการส่ง Email ถูกต้องและปลอดภัย

DMARC คือ เทคนิคในการตั้งค่าเพื่อป้องกันการปลอมแปลงไม่ให้ผู้อื่นปลอมแปลง Email ชื่อตนเอง (อ่านการทำงานของ DMARC)  ซึ่งมักมีอยู่ในผู้ให้บริการ Email ส่วนใหญ่ เช่น Microsoft Office 365, Google Workspace หรือระบบ Cloud Email ทั่วไปโดยทั่วไประบบดังกล่าวรองรับการทำงานอยู่แล้ว แต่ต้องตั้งค่าอย่างถูกต้องด้วยหากมิได้ตั้งค่าอย่างถูกต้องการใช้งาน DMARC ก็จะไม่มีประโยชน์หรือเหมือนไม่มีเลย เนื่องจากตัวแทนจำหน่าย Microsoft 365 (Office 365) หรือผู้ให้บริการอื่นๆ  อาจจะลืมหรือละเลยการแจ้งให้ตั้งค่าอย่างถูกต้องเพราะมองว่าระบบ Email นั้นอาจจะรับส่งได้สมบูรณ์แล้วโดยผู้อ่านสามารถตรวจสอบการตั้งค่าได้ง่ายๆดังนี้

เริ่มต้นตรวจสอบการตั้งค่าง่ายๆ

  • เข้าไปยัง Website: https://mxtoolbox.com/DMARC.aspx
  • ใส่ Domain ที่ต้องการตรวจสอบลงไปหลังจากนั้นจะแสดงข้อมูลเหมือนภาพด้านล่าง

 

ภาพประกอบการตั้งค่า DMARC ที่ถูกต้อง

 

ในส่วนลูกศรด้านบน ควรแสดงค่าเป็น Reject เท่านั้นซึ่งหมายความว่าหากมีการปลอมแปลง Email ตนเองให้ปลายทางทำการตีกลับ (Reject) หรือไม่รับจดหมายฉบับนั้นๆ

ในส่วนลูกศรด้านล่าง ให้ผู้อ่านสังเกตุว่าจะมี icon ติ๊กถูก โดยหากการตั้งค่าเบื้องต้นถูกต้อง ต้องมีเครื่องหมายติ๊กถูกทุกข้อซึ่งเป็นการแสดงว่าการตั้งค่าทางเทคนิคนั้นถูกต้อง

ข้อมูลโดยสรุป ผู้ให้บริการ Email ส่วนใหญ่นั้นรองรับการทำงานของ DMARC แต่ผู้ให้บริการหรือตัวแทนจำหน่ายที่นำสินค้ามาจำหน่ายอีกทีจะไม่ค่อยทราบหรือตั้งค่าให้ถูกต้องและถึงแม้ว่าจะตั้งถูกต้อง 100% ก็ไม่ได้สามารถป้องกันได้ 100% เพราะระบบปลายทางอาจจะมิได้มีการตรวจสอบ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการบางรายมีระบบเพิ่มเติมเช่น ระบบป้องกันการปลอมแปลง Email ขาเข้า (Fake Sender Name Detection) เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้องกับ DMARC

DMARC คืออะไรช่วยให้ Email ปลอดภัยจริงหรือ เราจะอธิบายง่ายๆให้ฟัง

ทำไมต้องมี DMARC ?

โดยปกติแล้วเมื่อเราใช้งาน Email ยกตัวอย่างเช่น a@company.com ในการส่ง Email โดยหลายๆคนคิดว่ามันเป็นวิธีการที่ปลอดภัยแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วมีวิธีการทางเทคนิคมากมายที่ Hacker จะเลียนแบบ Email: a@company.com ขึ้นมาให้เหมือนกัน 100% และวิธีการทำนั้นไม่ยากเลยทำให้ Email ของคุณมีโอกาสอาจจะถูกเลียนแบบโดยบุคคลที่ไม่หวังดีและส่งข้อมูลเท็จขึ้นมาเพื่อส่งให้ลูกค้าและทำให้ลูกค้าคุณสับสน เช่น ส่งเลขที่บัญชีปลอมเพื่อหลอกให้คู่ค่าของคุณโอนเงินให้ Hacker แทนที่จะเป็นคุณ

DMARC คืออะไร ?

ในบทความนี้จะอธิบายเป็นข้อความง่ายๆ เพื่อให้ง่ายแก่ผู้ไม่เข้าใจข้อมูลด้านเทคนิคนั้นเข้าใจได้ดังนี้ DMARC คือวิธีการที่จะป้องกันไม่ให้ Email @domain ตนเองถูกส่งจากบุคคลอื่นๆที่ไม่ได้อนุญาติ ยกตัวอย่างเช่น

เราประกาศใน DMARC ว่า จดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งออกจากบ้านของเราต้องส่งโดยบุคคลชื่อนาย A เท่านั้น หากเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นาย A เอาจดหมายไปส่งให้บุคคลอื่นในนามบ้านเราแปลว่าบุคคลนั้นไม่ได้อนุญาติให้ทำการส่งจดหมายและมีการแอบอ้าง เป็นต้น

 

DMARC ช่วยให้ปลอดภัยจริงหรอ ?

หากอ่านตามบทความด้านบนแล้วดูเหมือนว่าวิธีการนี้จะป้องกันการปลอมแปลง Email ได้ 100%  แต่จริงๆแล้ว DMARC เป็นเพียงการประกาศจากฝั่งเราเพียงฝ่ายเดียว แต่หากปลายทางไม่สนใจคำประกาศก็ไม่มีค่าอะไรเลยและมีปลายทางอีกจำนวนมากที่ไม่ได้สนใจคำประกาศ DMARC ดังกล่าว (Disable DMARC) ดังนั้นถึงแม้ว่าเราจะประกาศ DMARC ไปแล้วก็ไม่ใช่จะสามารถป้องกันได้ 100%

 

เราต้องเลือกผู้ให้บริการ Email ที่มี DMARC ?

ผู้ให้บริการส่วนใหญ่มักแจ้งว่ารองรับการทำงานของ DMARC แต่จริงๆแล้วมักไม่ค่อยใส่ใจในการแจ้งลูกค้าให้ตั้งค่าอย่างถูกต้อง เพราะการตั้งต่าจะถูกตั้งค่าในส่วนของ DNS ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักไม่ได้ใส่ใจหรือไม่สามารถทำได้หากไม่มีความรู้ทางเทคนิคมากพอ ดังนั้นควรเลือกผู้ให้บริการ Mail Server ที่มีความเชี่ยวชาญในการตั้งค่า DMARC อย่างถูกต้อง

บทความที่เกี่ยวข้องกับ DMARC